วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ประโยชน์ในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
ประโยชน์ในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอล เป็นกีฬาอย่างที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย และเป็นกีฬาที่สุภาพ ฝึกหัดเล่นให้เป็นได้ง่าย และเมื่อเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเป็นแล้วจะทำให้ผู้เล่นสามารถมีอายุในการเป็นนักกีฬาได้นานกว่ากีฬาอื่น ๆ คุ้มกับการที่ได้ฝึกฝนมาก เพราะกีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่คนหนุ่มสาวและคนมีอายุแล้วสามารถเล่น ได้แม้แต่สตรีที่มีบุตรแล้วและมี ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ส่งผลของการเล่นและการแข่งขันย่อมทำให้ผู้เล่นเกิดประโยชน์ดังนี้คือ
1.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมความรักใคร่สามัคคีกันระหว่างหมู่คณะ เพราะวอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม โดยมีผู้เล่นฝ่าหนึ่งอย่างน้อย ๖ คน
2.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมทักษะในการใช้มือของผู้เล่นให้เกิดความชำนาญ มีความแข็งแรงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะกีฬาวอลเลย์บอลอาจนับได้ว่าเป็นกีฬาชนิดเดียวที่ต้องใช้ความชำนาญของมือทุกส่วนตั้งแต่นิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อมือ แขน ในการเล่นลุก
3. การเล่นวอลเลย์บอลนั้นผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดีสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆได้ จึงจะทำให้มีชัยชนะในการเล่น
4.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เหมาะสมกับคนทุกยุคทุกวัย สถานที่ที่ใช้เล่นสามารถดัดเแปลงให้เหมาะสม กับเพสและวัยได้ กติกาการเล่นก็เข้าใจง่าย
5. การเล่นวอลเลย์บอลจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทะเลาะวิวาทเกิดขึ้น เพราะผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเองและมีตาข่ายกั้นกลางสนาม จึงทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่ายได้เลย
6.กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาอื่นๆ ทีใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเป็นสื่อกลางก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคย และมีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ทังระหว่างภายในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างดียิ่ง
กีฬาวอลเลย์บอล เป็นกีฬาอย่างที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย และเป็นกีฬาที่สุภาพ ฝึกหัดเล่นให้เป็นได้ง่าย และเมื่อเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเป็นแล้วจะทำให้ผู้เล่นสามารถมีอายุในการเป็นนักกีฬาได้นานกว่ากีฬาอื่น ๆ คุ้มกับการที่ได้ฝึกฝนมาก เพราะกีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่คนหนุ่มสาวและคนมีอายุแล้วสามารถเล่น ได้แม้แต่สตรีที่มีบุตรแล้วและมี ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ส่งผลของการเล่นและการแข่งขันย่อมทำให้ผู้เล่นเกิดประโยชน์ดังนี้คือ
1.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมความรักใคร่สามัคคีกันระหว่างหมู่คณะ เพราะวอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม โดยมีผู้เล่นฝ่าหนึ่งอย่างน้อย ๖ คน
2.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมทักษะในการใช้มือของผู้เล่นให้เกิดความชำนาญ มีความแข็งแรงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะกีฬาวอลเลย์บอลอาจนับได้ว่าเป็นกีฬาชนิดเดียวที่ต้องใช้ความชำนาญของมือทุกส่วนตั้งแต่นิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อมือ แขน ในการเล่นลุก
3. การเล่นวอลเลย์บอลนั้นผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดีสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆได้ จึงจะทำให้มีชัยชนะในการเล่น
4.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เหมาะสมกับคนทุกยุคทุกวัย สถานที่ที่ใช้เล่นสามารถดัดเแปลงให้เหมาะสม กับเพสและวัยได้ กติกาการเล่นก็เข้าใจง่าย
5. การเล่นวอลเลย์บอลจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทะเลาะวิวาทเกิดขึ้น เพราะผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเองและมีตาข่ายกั้นกลางสนาม จึงทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่ายได้เลย
6.กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาอื่นๆ ทีใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเป็นสื่อกลางก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคย และมีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ทังระหว่างภายในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างดียิ่ง
กฎกติกาในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
การแข่งขัน
ใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาที
ตำแหน่งของผู้เล่น
ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น เปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม
การเล่นลูกบอล
ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก (ได้ 4 ครั้ง) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟ
จะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที
การเปลี่ยนแดน
เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ข้อห้ามของผู้เล่น ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ไม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น
ใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาที
ตำแหน่งของผู้เล่น
ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น เปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม
การเล่นลูกบอล
ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก (ได้ 4 ครั้ง) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟ
จะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที
การเปลี่ยนแดน
เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ข้อห้ามของผู้เล่น ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ไม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น
มารยาทของผู้เล่นและผู้ชมกีฬาวอลเลย์บอลที่ดี
มารยาทของผู้เล่นวอลเลย์บอลที่ดี
1. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการเล่นวอลเลย์บอล ในการแข่งขันนั้นผู้เล่นต้องแต่งกายตามกติกา แต่ในการเล่นทั่วไปเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อออกกำลังกาย ควรจะแต่งกายให้เหมาะสม บางคนสวมรองเท้าแตะหรือชุดที่ไปเที่ยวลงเล่น เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บระหว่างการเล่นได้
2. ไม่แสดงกิริยาเสียดสี ล้อเลียนหรือกล่าวถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ต่อผู้เล่นฝ่ายเดียวกันหรือฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ชม
3. ในระหว่างการแข่งขัน ไม่จงใจฟังคำสอนจากผู้หนึ่งผู้ใดนอกสนาม
4. มีความสุภาพเรียบร้อยแสดงความเป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ก่อนและหลังการแข่งขันเสร็จสิ้นลง ควรจับมือผู้เล่นของทีมตรงข้ามไม่ว่าทีมจะแพ้หรือชนะก็ตาม
5. ไม่โต้เถียงหรือแสดงกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสม แก่ผู้ตัดสินในการตัดสินและปฏิบัติตามระเบียบกติกาการเล่นอย่างเคร่งครัด
6. มีใจคอหนักแน่น อดทน อดกลั้น และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง ถึงแม้ว่าผู้เล่นฝ่ายเดียวกันผิดพลาดก็ไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจ
มารยาทของผู้ชมวอลเลย์บอลที่ดี
1. แสดงความยินดีด้วยการปรบมือ ให้แก่ผู้เล่นที่เล่นดี และไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด
2. ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการเสียดสีในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง
3. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น การตะโกนด่าว่าผู้ตัดสิน เป็นต้น
4. ไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก
1. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการเล่นวอลเลย์บอล ในการแข่งขันนั้นผู้เล่นต้องแต่งกายตามกติกา แต่ในการเล่นทั่วไปเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อออกกำลังกาย ควรจะแต่งกายให้เหมาะสม บางคนสวมรองเท้าแตะหรือชุดที่ไปเที่ยวลงเล่น เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บระหว่างการเล่นได้
2. ไม่แสดงกิริยาเสียดสี ล้อเลียนหรือกล่าวถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ต่อผู้เล่นฝ่ายเดียวกันหรือฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ชม
3. ในระหว่างการแข่งขัน ไม่จงใจฟังคำสอนจากผู้หนึ่งผู้ใดนอกสนาม
4. มีความสุภาพเรียบร้อยแสดงความเป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ก่อนและหลังการแข่งขันเสร็จสิ้นลง ควรจับมือผู้เล่นของทีมตรงข้ามไม่ว่าทีมจะแพ้หรือชนะก็ตาม
5. ไม่โต้เถียงหรือแสดงกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสม แก่ผู้ตัดสินในการตัดสินและปฏิบัติตามระเบียบกติกาการเล่นอย่างเคร่งครัด
6. มีใจคอหนักแน่น อดทน อดกลั้น และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง ถึงแม้ว่าผู้เล่นฝ่ายเดียวกันผิดพลาดก็ไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจ
มารยาทของผู้ชมวอลเลย์บอลที่ดี
1. แสดงความยินดีด้วยการปรบมือ ให้แก่ผู้เล่นที่เล่นดี และไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด
2. ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการเสียดสีในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง
3. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น การตะโกนด่าว่าผู้ตัดสิน เป็นต้น
4. ไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก
การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลและวิธีปฐมพยาบาล
ลักษณะการบาดเจ็บจากการเล่นวอลเลย์บอล
1.ฟกซ้ำ เกิดจากการกระทบกระแทกโดยของที่ไม่มีคม ทำให้มีเลือดออกในชั้นใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อ หรือลงไปถึงชั้นเยื่อหุ้มกระดูกระยะแรกเมื่อเลือดยังไม่ซึมออกมากอาจไม่พบว่ามีการเปลี่ยนสีของผิวหนังหรือบวมขึ้น แต่การปฏิบัติในทันทีที่เห็นมีการกระแทกรุนแรงจะช่วยไม่ให้มีการฟกซ้ำเกิดขึ้นมากได้
การปฐมพยาบาล ใช้ของเย็นประคบบริเวณที่ถูกกระแทก อย่าเพิ่งถูนวดถ้าเป็นบริเวณที่ติดกับกระดูก เช่น หน้าแข้ง หนังศรีษะ อาจใช้ผ้าพันให้แน่น หลัง 24 ชั่วโมง แล้วจึงใช้ของร้อนและถูนวดเบาๆได้เพื่อให้เลือดที่คั่งกระจายและดูดซึมกลับได้เร็ว ปัจจุบันมียาเป็นครีมหลายชนิดที่ช่วยให้ฟกซ้ำยุบหายได้เร็วขึ้น แต่ควรต้องขอคำแนะนำการใช้จากแพทย์
2.กล้ามเนื้อฉีก เกิดจากการยืดตัวมากเกินไปของกล้ามเนื้อเพราะออกแรงเกินกำลังทำให้มีการขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อมากน้อยแล้วแต่ความรุนแรง อาการคือ เจ็บปวดบริเวณที่มีการฉีกขาดระยะแรกอาจพบมีรอยบุ๋มลงไปเนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนต้นและปลายของอันที่ขาด หดตัวกลับบริเวณนั้นจะเจ็บมากและไม่สามารถจะใช้กล้ามเนื้อนั้นได้
การปฐมพยาบาล ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าทีพักกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บให้มากที่สุดถ้ามีพลาสเตอร์ก็ใช้ติดจากส่วนบนของกล้ามเนื้อมายังส่วนล่างหลายๆชิ้น การใช้ของเย็นประคบใน 24 ชั่วโมงแรกจะช่วยไม่ให้มีเลือดออกมาในกล้ามเนื้อหลังจากนั้นต้องพักการใช้กล้ามเนื้อนั้นจนไม่มีความเจ็บปวดอีก
3.ข้อเคลื่อนหลุด เกิดจาการที่หัวกระดูกหลุดออกจากที่เคยอยู่ อาจเนื่องจากเยื่อหุ้มข้อขาดหรือถูกยืดมากเกินไปอาการส่วนมากพอเห็นได้ คือ มีรูปข้อผิดไป เคลื่อนไหวไม่ได้ ปวดมาก อาจมีบวม ขนาดของส่วนที่หลุดอาจเห็นได้ว่ายาวหรือสั้นกว่าเดิม
การปฐมพยาบาล หากเคยพบและจัดให้เข้าที่ได้ให้ทำทันที เพราะถ้ารอไว้จะปวดมากและทำยาก เพราะกล้ามเนื้อตึง แต่ถ้าไม่เคยทำหรือไม่แน่ใจ ให้ยึดส่วนที่หลุดไว้ในท่าที่เจ็บน้อยที่สุด พยายามอย่าให้มีการเคลื่อนไหวแล้วนำไปส่งแพทย์อย่างระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายถ้าเป็นระยะทางไกลอาจใช้ยาแก้ปวด และใช้น้ำแข็งประคบเพื่อให้เจ็บปวดน้อยลง
4.กระดูกหัก เป็นเรื่องที่ต้องส่งให้แพทย์ การปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายทำแบบเดียวกับข้อหลุด แต่ถ้ามีกระดูกหักทิ่มออกมานอกเนื้อต้องระวังเป็นพิเศษที่บริเวณแผลอย่าให้ถูกต้องของสกปรก ถ้ามีเลือดออกมากต้องรีบห้ามเลือดก่อนโดยใช้ชะเนาะรัดเหนือบริเวณที่มีเลือดออก
1.ฟกซ้ำ เกิดจากการกระทบกระแทกโดยของที่ไม่มีคม ทำให้มีเลือดออกในชั้นใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อ หรือลงไปถึงชั้นเยื่อหุ้มกระดูกระยะแรกเมื่อเลือดยังไม่ซึมออกมากอาจไม่พบว่ามีการเปลี่ยนสีของผิวหนังหรือบวมขึ้น แต่การปฏิบัติในทันทีที่เห็นมีการกระแทกรุนแรงจะช่วยไม่ให้มีการฟกซ้ำเกิดขึ้นมากได้
การปฐมพยาบาล ใช้ของเย็นประคบบริเวณที่ถูกกระแทก อย่าเพิ่งถูนวดถ้าเป็นบริเวณที่ติดกับกระดูก เช่น หน้าแข้ง หนังศรีษะ อาจใช้ผ้าพันให้แน่น หลัง 24 ชั่วโมง แล้วจึงใช้ของร้อนและถูนวดเบาๆได้เพื่อให้เลือดที่คั่งกระจายและดูดซึมกลับได้เร็ว ปัจจุบันมียาเป็นครีมหลายชนิดที่ช่วยให้ฟกซ้ำยุบหายได้เร็วขึ้น แต่ควรต้องขอคำแนะนำการใช้จากแพทย์
2.กล้ามเนื้อฉีก เกิดจากการยืดตัวมากเกินไปของกล้ามเนื้อเพราะออกแรงเกินกำลังทำให้มีการขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อมากน้อยแล้วแต่ความรุนแรง อาการคือ เจ็บปวดบริเวณที่มีการฉีกขาดระยะแรกอาจพบมีรอยบุ๋มลงไปเนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนต้นและปลายของอันที่ขาด หดตัวกลับบริเวณนั้นจะเจ็บมากและไม่สามารถจะใช้กล้ามเนื้อนั้นได้
การปฐมพยาบาล ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าทีพักกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บให้มากที่สุดถ้ามีพลาสเตอร์ก็ใช้ติดจากส่วนบนของกล้ามเนื้อมายังส่วนล่างหลายๆชิ้น การใช้ของเย็นประคบใน 24 ชั่วโมงแรกจะช่วยไม่ให้มีเลือดออกมาในกล้ามเนื้อหลังจากนั้นต้องพักการใช้กล้ามเนื้อนั้นจนไม่มีความเจ็บปวดอีก
3.ข้อเคลื่อนหลุด เกิดจาการที่หัวกระดูกหลุดออกจากที่เคยอยู่ อาจเนื่องจากเยื่อหุ้มข้อขาดหรือถูกยืดมากเกินไปอาการส่วนมากพอเห็นได้ คือ มีรูปข้อผิดไป เคลื่อนไหวไม่ได้ ปวดมาก อาจมีบวม ขนาดของส่วนที่หลุดอาจเห็นได้ว่ายาวหรือสั้นกว่าเดิม
การปฐมพยาบาล หากเคยพบและจัดให้เข้าที่ได้ให้ทำทันที เพราะถ้ารอไว้จะปวดมากและทำยาก เพราะกล้ามเนื้อตึง แต่ถ้าไม่เคยทำหรือไม่แน่ใจ ให้ยึดส่วนที่หลุดไว้ในท่าที่เจ็บน้อยที่สุด พยายามอย่าให้มีการเคลื่อนไหวแล้วนำไปส่งแพทย์อย่างระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายถ้าเป็นระยะทางไกลอาจใช้ยาแก้ปวด และใช้น้ำแข็งประคบเพื่อให้เจ็บปวดน้อยลง
4.กระดูกหัก เป็นเรื่องที่ต้องส่งให้แพทย์ การปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายทำแบบเดียวกับข้อหลุด แต่ถ้ามีกระดูกหักทิ่มออกมานอกเนื้อต้องระวังเป็นพิเศษที่บริเวณแผลอย่าให้ถูกต้องของสกปรก ถ้ามีเลือดออกมากต้องรีบห้ามเลือดก่อนโดยใช้ชะเนาะรัดเหนือบริเวณที่มีเลือดออก
ความปลอดภัยในการเล่นวอลเล่ย์บอล
ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาวอลเล่ย์บอล
ผู้เล่นวอลเลย์บอลจะไม่ได้รับอันตรายจากการเล่นถ้าหากได้ตรวจอุปกรณ์การเล่น มีความรู้ทักษะการเล่น และร่างกายมีความพร้อมที่จะเล่นอย่างเพียงพอ สิ่งที่ผู้เล่นควรคำนึงในการเล่นวอลเลย์บอลด้วยความปลอดภัยโดยทั่วไปมีดังนี้
1.ก่อนจะเริ่มเล่นวอลเลย์บอลควรให้แพทย์ตรวจร่างการเสียก่อน เพราะอาจมีโรคบางอย่างที่แพทย์ตรวจพบแล้วไม่อนุญาตให้เล่นกีฬาวอลเลย์บอลก็ได้
2.ก่อนการเล่นวอลเลย์บอลทุกครั้งควรสังเกตดูพื้นที่สนามที่ใช้เล่นเสียก่อนว่าขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ มีทรายหรือสิ่งแหลมคมบนพื้นสนามหรือไม่ พื้นสนามลื่นหรือไม่ถ้าหากสภาพสนามไม่ดีย่อมอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นได้
3.เมื่อรู้สึกไม่สบายขณะเล่นควรหยุดเล่นทันที ในกรณีที่ร่างกายอ่อนแอลงไปชั่วคราว เช่น ภาพหลังท้องเสีย อดนอน หรือเพิ่งหายไข้ใหม่ๆ การออกกำลังกายที่เคยทำอยู่อาจจะกลายเป็นหนักเกินไป อาการที่ปรากฏต่อไปนี้เพียงอย่างเดียวหรือหลายอย่างควรหยุดเล่นทันที คือ รู้สึกเหนื่อยผิดปกติธรรมดา ใจสั่น หายใจขัดหรือหายใจไม่ทั่วท้อง เวียนศรีษะ หน้ามืด คลื่นไส้
4.อย่าเล่นวอลเลย์บอลกลางแจ้งในขณะที่ฝนตกหรือแดดร้อนจัดเพราะนอกจากจะไม่เป็นการรักษาสุขภาพและสวัสดิภาพของ ตนเองแล้วถ้าเล่นลูกบอลที่ทำด้วยหนังก็จะทำให้ลูกบอลหมดสภาพการใช้งานเร็วขึ้นด้วย
5.ก่อนการเล่นลูกทุกครั้งต้องมีการอบอุ่นร่างกายให้เพียงพอ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจที่จะเล่นต่อไป
6.เครื่องแต่งกายในการเล่นต้องเป็นชุดที่เหมาะสม เพราะเครื่องแต่งกายมีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการเคลื่อนไหว และความอดทนในการเล่น กีฬาแต่ละอย่างมีรูปแบบเครื่องแต่งกายทั้งเสื้อ กางเกงและรองเท้า ในด้านการเคลื่อนไหว เสื้อผ้าที่รุ่มร่ามรองเท้าที่ไม่สมกับเท้าทำให้การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัวเท่าที่ควรและยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำเกิดอุบัติเหตุด้วย ในด้านความอดทนต้องคำนึงถึงการระบายความร้อนจากร่างกายเป็นสำคัญ กรณีที่สวมเสื้อผ้ามิดชิดเกินไปหรือใช้เสื้อผ้าที่ซับเหงื่อได้น้อย จะทำให้การระบายความร้อนออกจากร่างกายลำบากยิ่งขึ้น
7.ในการฝึกหรือเล่นแต่ละครั้งไม่ควรนานหรือหักโหมเกินไป เพราะสภาพร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากรู้สึกเหนื่อยควรหยุดพักสักระยะหนึ่งก่อนแล้วค่อยฝึกหรือเล่นใหม่
8.ไม่ควรฝึกซ้อมหรือเล่นวอลเลย์บอลหลังรับประทานอาหารใหม่ๆเนื่องจากสภาพของกระเพาะอาหารในเวลาอิ่มจัดกระเพาะ อาหารซึ่งอยู่ใต้กระบังลมจะเป็นตัวทำให้การขยายของปอดเป็นไปไม่ดีเท่าที่ควร เพราะกระบังลมไม่อาจหดตัวต่ำลงได้มาก ขณะเดียวกันการไหลเวียนของเลือดส่วนหนึ่งต้องถูกแบ่งไปใช้ในการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ลดน้อยลง นอกจากนี้ถ้ากระเพาะอาหารที่มีอาหารอยู่ได้รับความกระทบกระเทือน จะแตกได้ง่ายว่ากระเพาะอาหารที่ว่าง จึงควรงดอาหารหนักก่อนฝึกซ้อมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
9.ด้านจิตใจ ในระหว่างการเล่นหรือการฝึกซ้อมต้องทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ขจัดเรื่องที่รบกวนจิตใจในระหว่างนั้นออกไป หากขจัดไม่ได้จริงๆก็ไม่ควรฝึกซ้อมเพราะจะทำให้เสียสมาธิและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬานั้นช่วยลดความเครียดอยู่แล้วดังนั้นจึงไม่ควรเครียด
ผู้เล่นวอลเลย์บอลจะไม่ได้รับอันตรายจากการเล่นถ้าหากได้ตรวจอุปกรณ์การเล่น มีความรู้ทักษะการเล่น และร่างกายมีความพร้อมที่จะเล่นอย่างเพียงพอ สิ่งที่ผู้เล่นควรคำนึงในการเล่นวอลเลย์บอลด้วยความปลอดภัยโดยทั่วไปมีดังนี้
1.ก่อนจะเริ่มเล่นวอลเลย์บอลควรให้แพทย์ตรวจร่างการเสียก่อน เพราะอาจมีโรคบางอย่างที่แพทย์ตรวจพบแล้วไม่อนุญาตให้เล่นกีฬาวอลเลย์บอลก็ได้
2.ก่อนการเล่นวอลเลย์บอลทุกครั้งควรสังเกตดูพื้นที่สนามที่ใช้เล่นเสียก่อนว่าขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ มีทรายหรือสิ่งแหลมคมบนพื้นสนามหรือไม่ พื้นสนามลื่นหรือไม่ถ้าหากสภาพสนามไม่ดีย่อมอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นได้
3.เมื่อรู้สึกไม่สบายขณะเล่นควรหยุดเล่นทันที ในกรณีที่ร่างกายอ่อนแอลงไปชั่วคราว เช่น ภาพหลังท้องเสีย อดนอน หรือเพิ่งหายไข้ใหม่ๆ การออกกำลังกายที่เคยทำอยู่อาจจะกลายเป็นหนักเกินไป อาการที่ปรากฏต่อไปนี้เพียงอย่างเดียวหรือหลายอย่างควรหยุดเล่นทันที คือ รู้สึกเหนื่อยผิดปกติธรรมดา ใจสั่น หายใจขัดหรือหายใจไม่ทั่วท้อง เวียนศรีษะ หน้ามืด คลื่นไส้
4.อย่าเล่นวอลเลย์บอลกลางแจ้งในขณะที่ฝนตกหรือแดดร้อนจัดเพราะนอกจากจะไม่เป็นการรักษาสุขภาพและสวัสดิภาพของ ตนเองแล้วถ้าเล่นลูกบอลที่ทำด้วยหนังก็จะทำให้ลูกบอลหมดสภาพการใช้งานเร็วขึ้นด้วย
5.ก่อนการเล่นลูกทุกครั้งต้องมีการอบอุ่นร่างกายให้เพียงพอ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจที่จะเล่นต่อไป
6.เครื่องแต่งกายในการเล่นต้องเป็นชุดที่เหมาะสม เพราะเครื่องแต่งกายมีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการเคลื่อนไหว และความอดทนในการเล่น กีฬาแต่ละอย่างมีรูปแบบเครื่องแต่งกายทั้งเสื้อ กางเกงและรองเท้า ในด้านการเคลื่อนไหว เสื้อผ้าที่รุ่มร่ามรองเท้าที่ไม่สมกับเท้าทำให้การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัวเท่าที่ควรและยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำเกิดอุบัติเหตุด้วย ในด้านความอดทนต้องคำนึงถึงการระบายความร้อนจากร่างกายเป็นสำคัญ กรณีที่สวมเสื้อผ้ามิดชิดเกินไปหรือใช้เสื้อผ้าที่ซับเหงื่อได้น้อย จะทำให้การระบายความร้อนออกจากร่างกายลำบากยิ่งขึ้น
7.ในการฝึกหรือเล่นแต่ละครั้งไม่ควรนานหรือหักโหมเกินไป เพราะสภาพร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากรู้สึกเหนื่อยควรหยุดพักสักระยะหนึ่งก่อนแล้วค่อยฝึกหรือเล่นใหม่
8.ไม่ควรฝึกซ้อมหรือเล่นวอลเลย์บอลหลังรับประทานอาหารใหม่ๆเนื่องจากสภาพของกระเพาะอาหารในเวลาอิ่มจัดกระเพาะ อาหารซึ่งอยู่ใต้กระบังลมจะเป็นตัวทำให้การขยายของปอดเป็นไปไม่ดีเท่าที่ควร เพราะกระบังลมไม่อาจหดตัวต่ำลงได้มาก ขณะเดียวกันการไหลเวียนของเลือดส่วนหนึ่งต้องถูกแบ่งไปใช้ในการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ลดน้อยลง นอกจากนี้ถ้ากระเพาะอาหารที่มีอาหารอยู่ได้รับความกระทบกระเทือน จะแตกได้ง่ายว่ากระเพาะอาหารที่ว่าง จึงควรงดอาหารหนักก่อนฝึกซ้อมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
9.ด้านจิตใจ ในระหว่างการเล่นหรือการฝึกซ้อมต้องทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ขจัดเรื่องที่รบกวนจิตใจในระหว่างนั้นออกไป หากขจัดไม่ได้จริงๆก็ไม่ควรฝึกซ้อมเพราะจะทำให้เสียสมาธิและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬานั้นช่วยลดความเครียดอยู่แล้วดังนั้นจึงไม่ควรเครียด
สนามที่ใช้ในกีฬาวอลเล่ย์บอล
สนามแข่งขัน
สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 18 X 9 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตสนาม กว้างอย่างน้อยที่สุด 3.00 เมตร รอบด้าน
ที่ว่างสำหรับผู้เล่นคือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูกซึ่งไม่มีสิ่งใดกีดขวางอย่างน้อยที่สุด 7.00 เมตร สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เขตรอบสนามต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 5.00 เมตร จากเส้นข้าง 8.00 เมตร จากเส้นหลังและที่ว่างสำหรับเล่นลูกต้องสูงจากพื้นขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 12.50 เมตร
สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 18 X 9 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตสนาม กว้างอย่างน้อยที่สุด 3.00 เมตร รอบด้าน
ที่ว่างสำหรับผู้เล่นคือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูกซึ่งไม่มีสิ่งใดกีดขวางอย่างน้อยที่สุด 7.00 เมตร สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เขตรอบสนามต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 5.00 เมตร จากเส้นข้าง 8.00 เมตร จากเส้นหลังและที่ว่างสำหรับเล่นลูกต้องสูงจากพื้นขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 12.50 เมตร
ลักษณะการเล่นกีฬาวอลเล่ย์บอล
ลักษณะการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีลูกอัดด้วยลมเป็นอุปกรณ์ในการเล่น และเล่นในพื้นที่ซึ่งถูกแบ่งครึ่งด้วยตาข่าย โดยมีลักษณะการเล่นทั่วๆไปดังนี้
1.จุดมุ่งหมายการเล่น วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ใช้ส่วนต่างๆของร่างกายตั้งแต่ศรีษะจนถึงเท้าเล่นลูกบอล ซึ่งอาจตี ตบ ต่อยให้ลูกบอลไปตกในพื้นที่ของฝ่ายตรงข้ามและในขณะเดียวกันต้องพยายามรักษาพื้นที่ไม่ให้ลูกบอลตกในแดนของตนด้วย
2.ผู้เล่น การเล่นครั้งหนึ่งๆ โดยทั่วไปจะมีผู้เล่นฝ่ายละ 6 คน มีผู้เล่นสำรองอยู่นอกสนามอีกฝ่ายลำไม่เกิน 6 คน ซึ่งจะเปลี่ยนเข้าไปเล่นกันได้ตามกติกาการเปลี่ยนตัวผู้เล่นปัจจุบันมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด และมีการจัดการแข่งขันประเภทต่างๆซึ่งช่วยส่งเสริมให้กีฬาวอลเลย์บอลพัฒนาการเล่นมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้เล่นอาจจะมีฝ่ายหนึ่งน้อยกว่า 6 คน ก็ได้
3.สถานที่ใช้เล่น สนามที่ใช้เล่นมีขนาด กว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร มีตาข่ายกั้นกลางสนาม ผู้ชายใช้ตาข่ายสูง 2.43 เมตร ผู้หญิงใช้ตาข่ายสูง 2.24 เมตร สำหรับความสูงของตาข่ายนี้อาจจะลดลงมาได้อีก ตามที่ฝ่ายจัดการแข่งขันจะกำหนดตามความเหมาะสม
4.การเล่น การเล่นเริ่มด้วยทีมที่ชนะการเสี่ยงอาจจะเลือกเสริฟ์หรือเลือกแดนหรือเลือกรับลูกเสริฟ์อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสริฟ์จะต้องเสริฟ์ภายในเขตเสริฟ์ให้ลูกข้ามตาข่ายไปยังฝ่ายรับ จากนั้นทั้งสองฝ่ายต้องพยายามโต้ลูกกลับไปมา โค้ชอาจจะขอเวลานอกหรือขอเปลี่ยนตัวผู้เล่น การเล่นจะดำเนินต่อไปตามกติกา
5.การได้คะแนน ถ้าทีมใดที่ไม่สามารถรับลูกบอลที่ข้ามตาข่ายมาได้ตามกติกาหรือเล่นผิดกติกา ผลที่ตามมาคือทีมนั้นเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกส่วนทีมตรงข้ามเป็นฝ่ายชนะการเล่นลูกและคะแนน ซึ่งถ้าทีมตรงข้ามเป็นฝ่ายเสริฟ์ก็จะได้เสริฟ์ต่อไป แต่ถ้าเป็นฝ่ายรับลูกเสริฟ์จะได้สิทธิทำการเสริฟ์และได้คะแนน การได้คะแนนจะได้ครั้งละ 1 คะแนน
6.การแพ้ชนะ ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนก่อนและมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน จะเป็นทีมที่ชนะการแข่งขันในเซตนั้น แต่ถ้าทำได้ 25 คะแนนเท่ากันจะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งทำคะแนนนำอีกทีมหนึ่ง 2 คะแนน เช่น 26-24 , 27-25 เป็นต้น ในกรณีที่ได้เซตเท่ากัน 2:2 การแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5 ) จะแข่งขันกันเพียง 15 คะแนน และทีมที่ชนะการแข่งขันต้องมีคะแนนนำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน แต่ถ้าทำได้ 14 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งจะทำคะแนนนำอีกทีมหนึ่ง 2 คะแนน เช่น 16-14 , 17-15 เป็นต้น เมื่อเล่นชนะกัน 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5 เซต (แล้วแต่จะกำหนดกันก่อนการแข่งขันว่าจะแข่งขันกัน 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5 เซต ) ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีลูกอัดด้วยลมเป็นอุปกรณ์ในการเล่น และเล่นในพื้นที่ซึ่งถูกแบ่งครึ่งด้วยตาข่าย โดยมีลักษณะการเล่นทั่วๆไปดังนี้
1.จุดมุ่งหมายการเล่น วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ใช้ส่วนต่างๆของร่างกายตั้งแต่ศรีษะจนถึงเท้าเล่นลูกบอล ซึ่งอาจตี ตบ ต่อยให้ลูกบอลไปตกในพื้นที่ของฝ่ายตรงข้ามและในขณะเดียวกันต้องพยายามรักษาพื้นที่ไม่ให้ลูกบอลตกในแดนของตนด้วย
2.ผู้เล่น การเล่นครั้งหนึ่งๆ โดยทั่วไปจะมีผู้เล่นฝ่ายละ 6 คน มีผู้เล่นสำรองอยู่นอกสนามอีกฝ่ายลำไม่เกิน 6 คน ซึ่งจะเปลี่ยนเข้าไปเล่นกันได้ตามกติกาการเปลี่ยนตัวผู้เล่นปัจจุบันมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด และมีการจัดการแข่งขันประเภทต่างๆซึ่งช่วยส่งเสริมให้กีฬาวอลเลย์บอลพัฒนาการเล่นมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้เล่นอาจจะมีฝ่ายหนึ่งน้อยกว่า 6 คน ก็ได้
3.สถานที่ใช้เล่น สนามที่ใช้เล่นมีขนาด กว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร มีตาข่ายกั้นกลางสนาม ผู้ชายใช้ตาข่ายสูง 2.43 เมตร ผู้หญิงใช้ตาข่ายสูง 2.24 เมตร สำหรับความสูงของตาข่ายนี้อาจจะลดลงมาได้อีก ตามที่ฝ่ายจัดการแข่งขันจะกำหนดตามความเหมาะสม
4.การเล่น การเล่นเริ่มด้วยทีมที่ชนะการเสี่ยงอาจจะเลือกเสริฟ์หรือเลือกแดนหรือเลือกรับลูกเสริฟ์อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสริฟ์จะต้องเสริฟ์ภายในเขตเสริฟ์ให้ลูกข้ามตาข่ายไปยังฝ่ายรับ จากนั้นทั้งสองฝ่ายต้องพยายามโต้ลูกกลับไปมา โค้ชอาจจะขอเวลานอกหรือขอเปลี่ยนตัวผู้เล่น การเล่นจะดำเนินต่อไปตามกติกา
5.การได้คะแนน ถ้าทีมใดที่ไม่สามารถรับลูกบอลที่ข้ามตาข่ายมาได้ตามกติกาหรือเล่นผิดกติกา ผลที่ตามมาคือทีมนั้นเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกส่วนทีมตรงข้ามเป็นฝ่ายชนะการเล่นลูกและคะแนน ซึ่งถ้าทีมตรงข้ามเป็นฝ่ายเสริฟ์ก็จะได้เสริฟ์ต่อไป แต่ถ้าเป็นฝ่ายรับลูกเสริฟ์จะได้สิทธิทำการเสริฟ์และได้คะแนน การได้คะแนนจะได้ครั้งละ 1 คะแนน
6.การแพ้ชนะ ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนก่อนและมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน จะเป็นทีมที่ชนะการแข่งขันในเซตนั้น แต่ถ้าทำได้ 25 คะแนนเท่ากันจะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งทำคะแนนนำอีกทีมหนึ่ง 2 คะแนน เช่น 26-24 , 27-25 เป็นต้น ในกรณีที่ได้เซตเท่ากัน 2:2 การแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5 ) จะแข่งขันกันเพียง 15 คะแนน และทีมที่ชนะการแข่งขันต้องมีคะแนนนำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน แต่ถ้าทำได้ 14 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งจะทำคะแนนนำอีกทีมหนึ่ง 2 คะแนน เช่น 16-14 , 17-15 เป็นต้น เมื่อเล่นชนะกัน 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5 เซต (แล้วแต่จะกำหนดกันก่อนการแข่งขันว่าจะแข่งขันกัน 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5 เซต ) ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
ประวัติกีฬาวอลเล่ย์บอลในประเทศไทย
ประวัติของกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย
วอลเลย์บอลได้แพร่หลายเข้ามาในไทย ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆ เป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาค
ปี พ . ศ . 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณพงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล แก่บรรดาครูพลศึกษาทั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น ในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล สมัยนั้นมี น.อ.หลวงสุภชลาศัย ร . น . ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา จนกระทั่งปี พ . ศ . 2500 ได้มีการจัดตั้ง " สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย " (Amature Volleyball Association of Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน มีหน่วยราชการอื่นๆ จัดการแข่งขันประจำปี เช่น กรมพลศึกษา กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย เทศบาลนครกรุงเทพฯ สภากีฬาทหาร ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงประจำปีทุกปี
ประวัติวอลเล่ย์บอล
ประวัติของกีฬาวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิล เลียม จี มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เพื่อตอบสนอง ประยุกต์กีฬาให้สามารถเล่นในฤดูหนาวได้เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 6 ฟุต 6 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บจนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท A.G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่ หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโตเนต" (Mintonette)
ปี ค.ศ. 1896 มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ ( Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมซึ่งศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโตเนต (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล"(Volleyball) โดยศาสตราจารย์อัลเฟรดให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น ต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างมากปี ค.ศ. 1928 ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher)ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)